การตรวจสอบอาคาร เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพของร่างการ ซึ่งควรได้รับการตรวจประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แม้ไม่เคยเจ็บป่วยก็ตาม หากมีอาการแสดงออกก็สามารถรักษาเยียวยาได้ทันท่วงที
อาคารก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีการใช้อาคารก็ควรมีการตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีสิ่งบ่งชี้บอกเหตุว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารผิดปกติบ้างหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วอาคารควรได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โครงสร้างและระบบประกอบอาคารมีความปลอดภัยและคงทนต่อการใช้งาน
กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 เพื่อตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยในการใช้งาน โดยแบ่งอาคารเป็น 9 ประเภทดังนี้
การตรวจสอบอาคารแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของอาคาร
1. ตรวจสอบอาคาร ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
2. ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
- ระบบบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
- ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
3. ตรวจสอบสมรรถนะของระบบอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการอพยพ
4. ตรวจสอบระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร
ขั้นตอนการตรวจสอบอาคาร
1. เจ้าของอาคารประเภทตามที่กฏหมายกำหนด ต้องจัดหาผู้ตรวจสอบซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมืองมาเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร
2. เจ้าของอาคารต้องจัดหาหรือจัดทำแบบแปลนอาคาร เพื่อใข้สำหรับการตวจสอบ
3. ผู้ตรวจสอบทำการตรวจสอบอาคารครั้งแรกเป็นการตรวจสอบใหญ่
4. ผู้ตรวจสอบทำรายงานการตรวจสอบให้เจ้าของอาคาร
5. เจ้าของอาคารส่งรายงานการตรวจอบให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
6. เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาและออกหนังสือรับรองการตรวจสอบอาคาร
บทกำหนดโทษ (กรณีเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบอาคาร)
1. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ปรับเป็นรายวันๆ ละไม่เกิน 10,000 บาท
3. ถูกระงับการใช้อาคาร
ประโยชน์ของการตรวจสอบอาคาร
1. เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน เจ้าของอาคารและสาธารณะชน
2. ลดการสึกหรอของอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
3. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร
5. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร
ปรัชญาของการตรวจสอบอาคาร
“อาคารมีสภาพปลอดภัย ใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพ”
ฉะนั้น การตรวจสอบอาคาร เป็นการตรวจสอบการใช้อาคารเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร มิใช่เป็นการตรวจสอบว่าอาคารนั้นๆ มีการก่อสร้างที่ถูกต้องตามแบบที่ขออนุญาตไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่คนละวัตถุประสงค์กับการตรวจสอบเพื่อขออนุญาตเปิดใช้อาคาร